เมนู

ปสังสา (ความสรรเสริญ) ในตุริตะ (ความ
รีบด่วน) ในโกตุหละ (ความตื่นเต้น) ใน
อัจฉระ (ความอัศจรรย์) ในหาสะ (ความ
ร่าเริง) ในโสกะ (ความโศก) และในปสาทะ
(ความเลื่อมใส).

อีกอย่างหนึ่ง บทว่า อภิกฺกนฺตํ แปลว่า น่าใคร่ยิ่งนัก น่าปรารถนา
ยิ่งนัก น่าชอบใจยิ่งนัก มีคำอธิบายไว้ว่า ดียิ่งนัก.
บรรดาอภิกกันตศัพท์ 2 อย่างนั้น เวรัญชพราหมณ์ ย่อมชมเชย
เทศนา ด้วยอภิกกันตศัพท์อย่างหนึ่ง ย่อมชมเชยความเลื่อมใสของตน ด้วย
อภิกกันตศัพท์อย่างหนึ่ง. จริงอยู่ ในความชมเชยนี้ มีอธิบายดังนี้ว่า ข้าแต่
พระโคดมผู้เจริญ ! พระธรรมเทศนาของท่านพระโคดมผู้เจริญนี้ น่าชมเชย
ยิ่งนัก ความเลื่อมใสของข้าพระองค์อาศัยพระธรรมเทศนาของท่านพระโคดม
ผู้เจริญ ดียิ่งนัก. เวรัญชพราหมณ์ ชมเชยปาพจน์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า
นั่นแล มุ่งใจความเป็นสองอย่าง ๆ.

[ปาพจน์มีความดี 18 อย่าง]


บัณฑิต พึงประกอบปาพจน์ ด้วยเหตุทั้งหลายมีอาทิอย่างนี้ คือ :-
พระดำรัสของพระโคดมผู้เจริญ ชื่อว่าดียิ่งนัก เพราะยังโทสะให้พินาศ 1
ชื่อว่าดียิ่งนัก เพราะให้บรรลุคุณ 1 อนึ่ง เพราะให้เกิดศรัทธา 1 เพราะให้
เกิดปัญญา 1 เพราะเป็นไปกับด้วยอรรถ 1 เพราะเป็นไปกับด้วยพยัญชนะ 1
เพราะมีบทอันตื้น 1 เพราะมีเนื้อความลึกซึ้ง 1 เพราะไพเราะโสด 1 เพราะ
เข้าถึงหทัย 1 เพราะไม่ยกตนขึ้นอวดอ้าง 1 เพราะไม่ข่มผู้อื่น 1 เพราะเย็น
ด้วยพระกรุณา 1 เพราะทรงตรัสถามด้วยพระปัญญา 1 เพราะเป็นที่รื่นรมย์แห่ง

คลอง 1 เพราะทนต่อความย่ำยีได้อย่างวิเศษ 1 เพราะฟังอยู่ก็เป็นสุข 1
เพราะใคร่ครวญอยู่ก็มีประโยชน์ 1 ดังนี้.

[เวรัญชพราหมณ์ชมเชยพระธรรมเทศนาด้วยอุปมา 4 อย่าง]


แม้เบื้องหน้าแต่นั้นไป เวรัญชพราหมณ์ ย่อมชมเชยเทศนานั่นแล
ด้วยอุปมา 4 ข้อ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นิกฺกุชฺชิตํ คือ ภาชนะที่เขาวางคว่ำ
ปากไว้ หรือมีที่ปากอยู่ภายใต้.
บทว่า อุกฺกุชฺเชยย คือ พึงหงายปากขึ้น.
บทว่า ปฏิจฺฉนฺนํ คือ ที่เขาปิดไว้ด้วยวัตถุมีหญ้าและใบไม้เป็นต้น.
บทว่า วิวเรยฺย คือ พึงเปิดขึ้น
บทว่า มูฬฺหสฺส คือ คนหลงทิศ.
สองบทว่า มคฺคํ อาจิกฺเขยฺย ความว่า พึงจับที่มือแล้วบอกว่า
นี้ทาง.
บทว่า อนฺธกาเร ความว่า ในความมืดมีองค์ 4 (คือ) เพราะ
วันแรม 14 คำในกาฬปักษ์ 1 กลางคือ 1 ไพรสนพที่หนาทึบ (ดงทึบ) 1
กลีบเมฆ 1. ความหมายแห่งบทที่ยังไม่กระจ่างมีเท่านี้ก่อน :-
ส่วนการประกอบความอธิบาย มีดังต่อไปนี้ :-
(เวรัญชพราหมณ์ ชมเชยพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า) ท่านพระโคคม
ผู้เจริญ ทรงยังเราผู้เบือนหน้าหนีจากพระสัทธรรม ตกไปในอสัทธรรมแล้ว
ให้ออกจากอสัทธรรม เหมือนใคร ๆ พึงหงายภาชนะที่คว่ำขึ้นไว้ฉะนั้น ทรง
เปิดเผยพระศาสนาที่ถูกรกชัฏคือ มิจฉาทิฏฐิปกปิดไว้ ตั้งต้นแต่พระศาสนา